หลักการและเหตุผล


ผู้เขียน: kalasinlocalcom admin , วันที่: 21 ก.ค. 2566
267, หมวดหมู่:เกี่ยวกับโครงการ

             ข้อมูลฐานทรัพยกรท้องถิ่น จัดเป็นสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาชุมชนท้องถิ่นสามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาของชุมชนท้องถิ่นได้ เนื่องจากสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นเครื่องมือสำคัญด้านการศึกษาและการเรียนรู้ ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมและการวิจัยต่อยอดองค์ความรู้เพื่อสร้างเครือข่ายในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนและเป็นเครื่องมือสำคัญในด้านการบริหารจัดการการเมืองและการปกครองเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

              โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เป็นโครงการที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นขอเข้าร่วมสนองพระราชดำริโดยพระราชานุญาตให้เป็นหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ อพ.สธ. ในปีงบประมาณ 2558 โดยที่ทางกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเป็นนโยบายสนับสนุน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ซึ่งดำเนินงานอยู่ภายใต้กรอบการสร้างจิตสำนึก กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร โดยให้มีสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่นในอำเภอละหนึ่งตำบล / หนึ่งเทศบาลเป็นอย่างน้อย โดยเริ่มต้นการสำรวจฐานทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่จริงว่ามี อะไรอยู่ที่ไหน และเริ่มการดูแลอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่ นำไปสู่การวางแผนพัฒนาตำบลบนพื้นฐานของทรัพยากรที่มีอยู่จริง โดยเริ่มตั้งแต่การสำรวจและการทำฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นซึ่งประกอบด้วย 3 ฐานทรัพยากรได้แก่ ทรัพยากรชีวภาพ (สิ่งที่มีชีวิต), ทรัพยากรกายภาพ (สิ่งที่ไม่มีชีวิต) และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการวิจัยการจัดเก็บข้อมูลฐานทรัพยากรท้องถิ่นจังหวัดกาฬสินธุ์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) ตามแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่เจ็ด (1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – 30 กันยายน พ.ศ. 2569) ในกิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร และศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดเก็บข้อมูลฐานทรัพยากรท้องถิ่นของจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานสนองพระราชดำริต่อไป


© 2025 All rights Reserved.  พัฒนาเว็บไซต์โดย  WWW.PHUDESIGN.COM