Facebook
Line
Twitter

8-5460605-01-001วัดวังคำ


ผู้เขียน: username001 username001 , วันที่: 21 ก.ค. 2566
163, หมวดหมู่:ทะเบียนโบราณคดีในชุมชน

เกี่ยวกับโครงการ

หน่วยงานเข้าร่วมโครงการ

จำนวนผู้เยี่ยมชม

หมวดหมู่เรื่อง

รหัสโบราณคดี 8-5460605-01-001
ชื่อพื้นเมือง
 (ชื่อที่ท้องถิ่นนั้นเรียก)
วัดวังคำ
ประวัติ
(เช่น ความสำคัญ อายุ)
วัดวังคำปัจจุบันมีเนื้อที่กว่า 8 ไร่ เริ่มก่อสร้าง(อย่างเป็นทางการ)ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 โดยคณะชาวบ้านนาวีและหมู่บ้านใกล้เคียง และได้รับการประกาศตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนามีนามว่า “วัดวังคำ” สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุตนิกาย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 -ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานเขตวิสุงคามสีมาแก่วัดวังคำ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2545 -สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547 ประดิษฐานที่หน้าบันอุโบสถ(สิม) วัดวังคำ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 8 มิถุนายน 2561
ลักษณะเด่น (เช่น รูปร่าง รูปทรง ขนาด) เป็นวัดไทยวัดเดียวในกาฬสินธุ์ที่มีสถาปัตยกรรมแบบล้านช้าง โดยชุมชนบ้านนาวีนั้น เป็นชุมชนชาวภูไทที่อยู่อาศัยทั้งที่ประเทศไทย และลาว จึงได้นำศิลปะล้านช้างที่สวยงามอย่างมากในภาคอีสานมาเป็นสื่อกลางในการเชื่อมวิถีชาวภูไท  และชุมชนเข้าด้วยกัน
ความโดดเด่นของวัดวังคำก็คือ โบสถ์ หรือ สิม ที่นำวัดเชียงทองมาสร้างแบบย่อส่วนลงมาเล็กน้อย ถ้ามองเพียงเผินๆ ภายนอกจะมีความคล้ายกับวัดเชียงทองมาก ไม่ว่าจะเป็นหลังคาโบสถ์ทรงปีกนกปกคลุมต่ำซ้อน 3 ชั้นลดหลั่นกันลงมา หรือที่เรียกกันว่าสถาปัตยกรรมแบบม้าต่างไหม ด้านหน้า 3 ชั้น ด้านหลัง 2 ชั้น มีลวดลายลงรักปิดทองประดับรูปเทพต่างๆ เป็นสีทอง
ค้ำยัน หรือคันทวย ทำลวดลายคล้ายที่วัดเชียงทอง ส่วนด้านหลังนั้นก็มีลวดลายประดับกระจกสีสวยงามมาก แต่ที่ต่างกันก็มีอยู่บ้าง เช่น ราวบันไดทางเข้าด้านหน้าของวัดเชียงทองทำเป็นวัดไทยวัดเดียวในกาฬสินธุ์ที่มีสถาปัตยกรรมแบบล้านช้าง โดยชุมชนบ้านนาวีนั้น เป็นชุมชนชาวภูไทที่อยู่อาศัยทั้งที่ประเทศไทย และลาว จึงได้นำศิลปะล้านช้างที่สวยงามอย่างมากในภาคอีสานมาเป็นสื่อกลางในการเชื่อมวิถีชาวภูไท  และชุมชนเข้าด้วยกัน
ความโดดเด่นของวัดวังคำก็คือ โบสถ์ หรือ สิม ที่นำวัดเชียงทองมาสร้างแบบย่อส่วนลงมาเล็กน้อย ถ้ามองเพียงเผินๆ ภายนอกจะมีความคล้ายกับวัดเชียงทองมาก ไม่ว่าจะเป็นหลังคาโบสถ์ทรงปีกนกปกคลุมต่ำซ้อน 3 ชั้นลดหลั่นกันลงมา หรือที่เรียกกันว่าสถาปัตยกรรมแบบม้าต่างไหม ด้านหน้า 3 ชั้น ด้านหลัง 2 ชั้น มีลวดลายลงรักปิดทองประดับรูปเทพต่างๆ เป็นสีทอง
ค้ำยัน หรือคันทวย ทำลวดลายคล้ายที่วัดเชียงทอง ส่วนด้านหลังนั้นก็มีลวดลายประดับกระจกสีสวยงามมาก แต่ที่ต่างกันก็มีอยู่บ้าง เช่น ราวบันไดทางเข้าด้านหน้าของวัดเชียงทองทำเป็นบันไดโล้นๆ แต่ที่วัดวังคำทำเป็นตัวสิงห์สีทอง 2 ตัวประดับอยู่
 ส่วนที่หลังโบสถ์ช่วงกลางทำเป็นลวดลายประดับกระจกสี หรือลายดอกดวงเช่นเดียวกับที่วัดเชียงคำ แต่ต่างกันตรงรายละเอียดของลาย โดยที่วัดเชียงทองทำเป็นรูปต้นทอง (ต้นงิ้ว) ส่วนวัดวังคำทำเป็นต้นโพธิ์ธรรม เป็นต้น
ด้านในโบสถ์เป็นที่ประดิษฐานของพระประธาน 2 องค์ คือ ปางสะดุ้งมาร และ ปางสะดุ้งมารกลับ ตามความเชื่อโบราณนั่นเอง
พระประธานในวัดที่มี 2 องค์ ซึ่งท่านเจ้าอาวาสบอกว่า นำมาจากความเชื่อโบราณ เป็นปางสะดุ้งมาร กับปางสะดุ้งมารกลับ
ส่วนที่หลังโบสถ์ช่วงกลางทำเป็นลวดลายประดับกระจกสีหรือลายดอกดวงวัดวังคำทำเป็นต้นโพธิ์ธรรม
บริเวณโบสถ์วัดวังคำยังมีความแตกต่างคือมีพระระเบียงล้อมทั้ง 4 ด้าน มีรูปปั้นช้างประดับอยู่ด้างหลัง ม้าประดับอยู่ด้านข้างเป็นต้น มีการปลูกต้นลั่นทมหรือลีลาวดีหรือต้นจำปาของลาวประดับไว้เป็นจุดๆ
ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น (เช่น การใช้ประโยชน์)   เป็นศาสนสถานประกอบพิธีพระพุทธศาสนาและ- เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เด่นชัดด้านประเพณีภูไทที่ชัดเจนเป็นแหล่งศึกษาด้านวัฒนธรรมและประเพณี
บริเวณที่พบ (เช่น สถานที่ พิกัดทาง ภูมิศาสตร์) วัดวังคำ วัดวังคำ ตั้งอยู่ที่
บ้านนาวี ต.สงเปลือย อ.เขาวง
จ.กาฬสินธุ์ 
หมายเหตุ  

© 2025 All rights Reserved.  พัฒนาเว็บไซต์โดย  WWW.PHUDESIGN.COM